ผลัดขน

ผลัดขน หรือขนร่วง เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนมักจะเป็นกังวลมากเมื่อเห็นว่าหมาแมว มักจะขนร่วงติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันจนขนบางลงอย่างเห็นได้ชัด สุดท้ายทนไม่ไหวต้องอุ้มไปหาสัตวแพทย์ประจำตัว หลายครั้งจะได้รับคำตอบว่าหมาแมวไม่ได้เป็นโรคผิวหนังแค่ผลัดขนตามปกติเท่านั้น เจ้าของก็จะเข้าใจทันใดว่าไม่ได้ป่วย แต่หลายคนจะต้องยังมีบางอย่างติดค้างในใจ เช่น การผลัดขนปกติคืออะไร ทำไมต้องผลัดขน แล้วจะผลัดขนบ่อยแค่ไหน ต้องดูแลอะไรเพิ่มเติมไหม ในบทความนี้จะมาพูดถึงการผลัดขนของสัตว์เลี้ยง วัฏจักรการเจริญของเส้นขน การผลัดขนของหมาแมว และข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลัดขน

ผลัดขน

การผลัดขนของสัตว์เลี้ยง

ก่อนอื่นเรามารู้จักวัฏจักรการเจริญของเส้นขน (Hair Growth Cycle) กันก่อน เส้นขนของสัตว์นั้นมีความคล้ายคลึงกับผมของคนเรา คือประกอบด้วยทั้งส่วนที่มีชีวิต คือ รากขน (Hair Root) และส่วนที่ไม่มีชีวิต คือ เส้นขน (Hair Shaft) โดยส่วนของเส้นขนนั้นจะเจริญมาจากการแบ่งตัว และพัฒนาของรากขนนั่นเอง โดยพบว่าเส้นขนเก่าจะมีการหลุดร่วงทุกวัน ในขณะเดียวกันก็มีการสร้างขนใหม่จากรากขนขึ้นมาแทนที่เป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป

ระยะการเจริญของเส้นขนออกได้ เป็น  3 ระยะ ได้แก่ 

1. Anagen phase หรือเรียกว่า ระยะเจริญเติบโต ในระยะนี้ต่อมรากขนที่อยู่ในชั้นหนังแท้จะมีการแบ่งตัวจำนวนมาก และมีการพัฒนาของเซลล์แรกเริ่ม Dermal Papilla อย่างชัดเจน มีเลือดมาเลี้ยงมาก เซลล์ใน Dermal Papilla จะมีการสร้างสาร Ground Substance จากนั้นจะส่งไปยัง Matrix เพื่อสร้างเป็น Keratin ซึ่งมีความจำเป็นต่อกระบวนการเจริญเติบโตของเส้นขน เส้นขนจะมีการเจริญเติบโตจนมีขนาดเส้นยาวตามลักษณะทางพันธุกรรม โดยในระยะนี้จะพบว่ารูขุมขนที่ผิวหนัง (Hair Follicle) จะมีขนาดใหญ่กว่าระยะอื่นๆ

2. Catagen phase หรือเรียกว่าระยะหยุดเจริญเติบโต เป็นระยะที่ต่อมาจาก Anagen phase (ระยะการเจริญเติบโต) ใช้ระยะเวลาเพียงสั้น ๆ โดยเส้นขนจะเจริญช้าลงและค่อย ๆ หยุดการเจริญเติบโตในที่สุด พบว่า เซลล์ในDermal Papilla จะมีขนาดเล็กลงและมีรูปร่างกลมมากขึ้นรูขุมขนที่ผิวหนัง (Hair Follicle) จะหดสั้น และแยกตัวจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยง เพื่อเคลื่อนตัวขึ้นมาสู่ชั้นผิวหนังด้านบน

3. Telogen phase หรือเรียกว่าระยะพัก เป็นระยะที่ต่อมาจาก Catagen phase ในระยะนี้ เส้นขนจะอยู่ในระยะที่เซลล์ไม่มีชีวิตแล้ว มีการเคลื่อนที่มาอยู่ใกล้กับพื้นผิวของผิวหนังเพื่อรอการหลุดร่วง และในขณะเดียวกันก็จะมีผมเส้นใหม่ ในระยะ Anagen phase เจริญขึ้นมาแทนที่ วนเวียนกันเป็นวัฎจักรเช่นนี้ตลอดเวลา

ความแตกต่างเส้นขนระหว่างคนกับสัตว์เลี้ยง

วัฏจักรการเจริญของเส้นขนในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขนั้นมีความแตกต่างจากของมนุษย์ โดยในมนุษย์พบว่าระยะ Anagen phase จะกินระยะเวลายาวนานที่สุดประมาณ 3-7 ปี ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสุนัขบางสายพันธุ์ที่ต้องการการตัดขนเป็นประจำ เช่น สายพันธุ์ Poodle ในขณะที่สุนัขสายพันธุ์อื่น ๆ ระยะ Anagen phase จะใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่ก็เพียงพอให้เส้นขนเจริญจนได้ความยาวตามลักษณะทางพันธุกรรม เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1 เดือน ไปจนถึง 1 ปีหรือมากกว่า และระยะ Telogen phase จะมีความโดดเด่นขึ้นมาแทน ใช้ระยะเวลายาวนานขึ้น ในสายพันธุ์ที่มีต้นกำเนิดที่เขตหนาว อาจพบระยะ Telogen phase กินเวลาหลายปีเลยทีเดียว แม้ว่าเส้นขนของสุนัขจะอยู่ในระยะพัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเส้นพร้อมจะร่วงทันที ต้องมีการเจริญของเส้นขนใหม่มาแทนที่เสียก่อน เส้นขนเก่าจึงจะหลุดร่วงออกมานั่นเอง

เราได้รู้จักกับวัฏจักรการเจริญของเส้นขนกันไปแล้วและเราก็ได้รู้ว่าเส้นขนของสุนัขนั้นมีการหลุดร่วงออกมาทุกวัน ซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรการเจริญเติบโตของเส้นขน ปริมาณการร่วงก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรมของขนแต่ละสายพันธุ์นะครับ แต่มีข้อสังเกตคือ การหลุดร่วงของขนแบบนี้ จะไม่ร่วงมากจนทำให้สุนัขดูขนบางลงอย่างผิดสังเกต เพราะการที่ขนเก่าจะร่วงนั้น ต้องมีขนใหม่เจริญมาทดแทนทันทีนั่นเอง

การผลัดขนแตกต่างกับขนร่วงอย่างไร 

การผลัดขน (seasonal shedding) เป็นกระบวนการที่ควบคุมโดยพันธุกรรม ร่วมกับมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมมาส่งเสริมให้การควบคุมโดยพันธุกรรมนั้นแสดงออกได้อย่างเด่นชัด ซึ่งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก็คือ ช่วงแสงระหว่างวัน (photoperiod) และ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามฤดูกาล (seasonal changes of temperature) โดยทั้งสองปัจจัยนี้จะมีผลกระทบต่อวัฏจักรการเจริญของเส้นขนปกติ ทำให้มีการหลุดร่วงของเส้นขนมากขึ้นนั่นเอง

การผลัดขนนั้นจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยอาจกินเวลาประมาณ 2-5 สัปดาห์ จากนั้นก็จะมีขนใหม่เจริญขึ้นมาแทนที่จนปกคลุมทั่วร่างกายใช้เวลาประมาณ 14-18 สัปดาห์ มีผลการศึกษาที่น่าสนใจกล่าวว่า สุนัขพันธุ์ขนสั้นจะมีการผลัดขนตลอดทั้งปี ไม่มีช่วงเวลาที่ผลัดแบบเด่นชั้น ตรงข้ามกับสุนัขพันธุ์ขนยาว จะผลัดขนอย่างชัดเจนที่ปีละ 1-2 ครั้ง โดยสุนัขที่เลี้ยงโดยปล่อยให้ขนมีความยาวตามลักษณะทางพันธุกรรมนั้นมักจะผลัดขนในฤดูใบไม่ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ในจณะที่สุนัขที่เจ้าของมีการตัดแต่งขนเป็นประจำ มักจะมีการผลัดขนเฉพาะฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้เราทราบว่าสัตว์ไม่ได้ผลัดขนแต่เฉพาะเวลาที่ใกล้จะเข้าฤดูร้อนเท่านั้น แต่มีการผลัดขนที่เป็นรูปแบบตามฤดูกาลที่แน่นอนนั่นเอง

ในตอนนี้ ชายหมอ(หมา) ก็คงต้องขอจบเรื่องเล่าลงแต่เพียงเท่านี้ หวังว่าคุณเจ้าของสัตว์ทุกท่านจะมีความเข้าใจในธรรมชาติของการผลัดขน ตลอดจนวัฏจักรการเจริญเติบโตของขนเพิ่มมากขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ และอย่าลืมติดตามตอนหน้าว่าชายหมอ(หมา) จะนำเรื่องอะไรมาเล่าสู่กันฟังอีกครับ

สุนัขผลัดขน

สุขภาพเส้นขนและผิวหนังที่ดีถือเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอกได้ว่าน้องหมามีสุขภาพดี ได้รับสารอาหารครบถ้วน รวมทั้งอาจบอกถึงสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสมได้อีกด้วย หากพบว่าน้องหมาของเรามีขนร่วงติดตามโซฟา ตามพื้นบ้าน หรือเวลาที่ลูบตามตัวพวกเขา เจ้าของอย่างเราคงต้องรู้สึกกังวลใจอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การที่มีขนหลุดร่วงในน้องหมาอาจเป็นเพราะการผลัดขนตามธรรมชาติของพวกเขาก็ได้ หรือจริง ๆ แล้วอาจมีสาเหตุสำคัญอย่างอื่นที่ทำให้น้องหมาของเรามีขนร่วงมากกว่าปกติ เรามาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้เส้นขนของน้องหมาหลุดร่วงที่อาจพบได้มีอะไรกันบ้าง

การผลัดขนในน้องหมาขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของน้องหมา เพราะน้องหมาแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะและชนิดของเส้นขนที่แตกต่างกัน อย่างน้องหมาสายพันธุ์ลาบราดอร์และปักกิ่งจะมีการผลัดขนบ่อยและเยอะมาก แต่น้องหมาบางสายพันธุ์อย่างดัชชุนและพูเดิ้ลกลับไม่ค่อยมีการผลัดขนเลย นอกจากนี้ น้องหมาบางสายพันธุ์ยังมีการผลัดขนตามฤดูกาล ที่พบคือในต่างประเทศ น้องหมาที่มีการผลัดขนตามฤดูกาลจะผลัดขนเยอะในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูใบไม้ผลิ  โดยน้องหมาจะมีการผลัดขนมากในฤดูใบไม้ผลิ และพบว่าขนจะบางกว่าปกติซึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น ส่วนในฤดูใบไม้ร่วงนั้น น้องหมาก็จะมีการผลัดขนมากกว่าปกติเช่นกัน เพื่อปรับสภาพเส้นขนให้เตรียมรับกับช่วงอากาศหนาวที่กำลังมาเยือน แต่น้องหมาบางสายพันธุ์ก็มีการผลัดขนตลอดทั้งปี เช่น น้องหมาโกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ที่มีขนยาวหนาสองชั้น จะมีการผลัดขนตลอดทั้งปี ทั้งนี้ สำหรับน้องหมาที่มีการผลัดขนอยู่ตลอดทั้งปีจำเป็นต้องได้รับการแปรงขนเป็นประจำ อาจจะ 3 ถึง 4 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาจจำเป็นต้องแปรงทุกวันสำหรับน้องหมาที่ผลัดขนต่อเนื่อง

การป้องกันเพื่อไม่ให้สุนัขขนร่วง

สำหรับภาวะขนร่วงนั้น บางอาการมีความซับซ้อนและต้องได้รับการดูแลจากคุณหมอสัตวแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น โรคคุชชิ่ง แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขนร่วงจากสาเหตุอื่น ๆ ที่บ้านได้เองด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. ป้องกันเห็บหมัดเป็นประจำตามคำแนะนำของคุณหมอสัตวแพทย์
  2. อาบน้ำสุนัขด้วยแชมพูสำหรับสุนัขเท่านั้น เพื่อลดสิ่งที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
  3. เลือกอาหารที่ประกอบไปด้วยสารอาหารครบถ้วน และมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพเส้นขนอย่างเช่นกรดไขมันจำเป็น และโปรตีนคุณภาพสูง

ที่สำคัญหากเราสังเกตเห็นอาการขนร่วงที่ผิดปกติ ควรพาน้องหมาของคุณไปพบกับคุณหมอสัตวแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อง

ถ้าสุนัขของคุณมีผิวหนังแพ้ง่าย มีอาการคัน เกา หรืออาจมีขนร่วงร่วมด้วย ควรเลือกอาหารที่ดูแลผิวหนัง และเส้นขนโดยเฉพาะที่มีโปรตีนที่คัดสรรพิเศษที่ช่วยลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ กรดไขมันมันบำรุงเส้นขน และเสริมเกราะป้องกันผิวหนังด้วยวิตามิน และกรดอะมิโนเฉพาะ อย่าง“สูตร Dermacomfort” สำหรับสุนัขแต่ละขนาด (ขนาดเล็ก,กลาง,ใหญ่)

ผลัดขน

แมวผลัดขน

การผลัดขน ถือเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงตามวงรอบการเจริญเติบโตของเส้นขน ซึ่งการผลัดขนนั้นจะช่วยในเรื่องการระบายความร้อนออกจากผิวหนัง นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วออกไปให้ขนเส้นใหม่ขึ้นมาแทนที่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของผิวหนังและเส้นขนมากขึ้นนั่นเอง ตามธรรมชาติเมื่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นขนเดินทางมาถึงระยะที่ต้องสลัดขนเก่าที่ตายแล้วทิ้งไป กระบวนการจะค่อยๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะไม่เกิดลักษณะของการขนร่วงจนแหว่งเป็นวง แต่ถ้าคุณเห็นลักษณะขนร่วงแหว่งเป็นวงแล้วล่ะก็ ให้ระวังไว้เลยว่านั่นอาจไม่ใช่การผลัดขนธรรมดาเสียแล้ว แต่น้องแมวของคุณอาจมีปัญหาผิวหนังบางอย่างซ่อนอยู่

โดยธรรมชาติแล้วแมวป่าจะมีการผลัดขนปีละ 2 ครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิจะเริ่มผลัดเอาขนที่หนานุ่มจากฤดูหนาวออกไป เพื่อเตรียมให้พร้อมกับฤดูหนาวครั้งใหม่ที่กำลังย่างกรายเข้ามา แต่ในปัจจุบันด้วยการเลี้ยงดูน้องแมวที่เปลี่ยนไป เราไม่ได้เลี้ยงแบบแมวป่า แต่เป็นแมวที่อยู่ห้องแอร์แสนสบายในช่วงฤดูร้อน ทำให้ร่างกายมีการปรับให้มีการผลัดขนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องผิดปกติ

และถ้าใครกำลังมองหาน้องแมวสายพันธุ์ที่ขนร่วงน้อยๆ ก็อยากจะแนะนำให้รู้จักกับน้องแมวสายพันธุ์คอร์นิช เร็กซ์ (Cornish Rex) ที่มีขนสั้น และขดแนบไปกับผิวหนัง และน้องแมวสายพันธุ์เดวอน เร็กซ์ (Devon Rex) ที่มีลักษณะขนที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งขนจะมีเส้นสั้นและเล็กจนยากที่จะสังเกต แต่ถ้าใครที่รักน้องแมว แต่ไม่อยากเจอกับเรื่องขนขนแบบนี้เลย ก็ต้องมาเจอน้องแมวสายพันธุ์สฟิงซ์ (Sphynx) ที่แม้จะดูเหมือนไร้ขน แต่น้องแมวมีขนขนาดเล็กบางๆ ปกคลุมอยู่ทั่วทั้งร่างกาย บอกเลยว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากๆ สำหรับคนรักแมวที่แพ้ขนแมวเลยล่ะ

แต่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งปัญหาขนร่วงในน้องแมวนั้นอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่ตัวน้องแมวได้เช่นกัน ซึ่งการที่จะบอกได้ว่าแมวของเรากำลังมีปัญหาขนร่วงหรือไม่นั้น ในเบื้องต้นอาจพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่

  • ต้องมีขนขึ้นใหม่ การผลัดขนในแมว แม้จะสังเกตเห็นว่ามีขนร่วงเยอะ แต่ก็จะมีขนขึ้นใหม่อยู่ตลอดนั่นจึงเรียกว่าการผลัดขน แต่ถ้าเป็นปัญหาสุขภาพ ขนที่ร่วงแล้วจะร่วงเลย คือวงจรการเจริญของเส้นขนจะผิดปกติไป ไม่มีขนใหม่ขึ้นมาแทนที่ จนกว่าจะได้รับการแก้ไขที่สาเหตุของปัญหาสุขภาพนั้นได้อย่างตรงจุด
  • อาการและรอยโรคที่พบ นอกจากขนที่ร่วงแล้ว หากเราพบว่าน้องแมวมีอาการคันหรือมีรอยโรคบริเวณผิวหนังร่วมด้วย เช่น ตุ่ม ผื่นแดง แผลถลอกหรือแผลตกสะเก็ดเกิดจากการเกา อาจสันนิษฐานได้ว่าสาเหตุของอาการขนร่วงนั้นมาจากโรคหรือความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย
  • บริเวณที่ขนร่วง โดยส่วนใหญ่หากเป็นการผลัดขนปกติ ขนจะร่วงออกมาจากทั่วร่างกายในปริมาณใกล้เคียงกัน ไม่พบแมวขนร่วงเป็นหย่อม แต่หากเป็นปัญหาขนร่วงที่มาจากสาเหตุอื่นๆ เรามักจะเห็นว่าน้องแมวขนร่วงเป็นหย่อมๆ หรือแมวขนร่วงเป็นกระจุก จนขนหลงเหลืออยู่แค่ในบางบริเวณเท่านั้น

บทสรุป

ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการผลัดขนของหมาแมวนั้นขึ้นกับชนิดของเส้นขน สายพันธุ์ และฤดูกาล แต่ถ้ามีขนร่วงมากกว่าปกติ มีขนร่วงเป็นกระจุก หรือมีขนร่วงกระจายทั่วตัว คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป สาเหตุที่ทำให้ขนร่วงมากกว่าปกติที่เรามักเจอโดยทั่วไปคือปรสิตภายนอกชนิดต่างๆ เช่น เห็บ หมัด และไร ปรสิตเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน เลีย เกา จนผิวหนังอ่อนแอและขนร่วงในที่สุด การได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขนร่วง เนื่องจากเส้นขนต้องอาศัยสารอาหารจำเพาะหลายชนิดเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของเส้นขนและเซลล์ผิวหนัง ดังนั้นหมาแมวที่ขาดสารอาหารจึงมีผิวหนังที่อ่อนแอ ขนหยาบ กระด้าง และมีการงอกของเส้นขนที่ผิดปกติ รวมถึงมีอาการขนร่วงด้วย นอกจากนี้ โรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่างๆ อย่างเช่น ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ โรคคุชชิ่ง ก็สามารถพบในน้องหมา ซึ่งจะทำให้พวกเขาอ้วนและมีอาการขนร่วงตามตัวได้เช่นกัน

 

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่ driverplanner.com
สนับสนุนโดย  ufabet369